C Language

http://tvxq.siam2web.com/

ฟังก์ชัน 



ฟังก์ชัน printf() 


                เป็นฟังก์ชันที่ใช้แสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ การแสดงผลทางจอภาพด้วยฟังก์ชันนี้สามารถกำหนดรูปแบบและรหัสควบคุมได้ โดยฟังก์ชัน printf() มีรูปแบบ ดังนี้
                printf(control string,argument list); 
โดย control string รวมทั้งข้อความ รหัสกำหนดรูปแบบ รหัสควบคุม ทั้งหมดนี้ ต้องล้อมด้วยเครื่องหมาย คำพูด (") ส่วนargument list เป็นรายการของตัวแปร ค่าคงที่ หรือนิพจน์ที่จะแสดงออกทางจอภาพ หากมี ตัวแปร ค่าคงที่ หรือนิพจน์ มากกว่า 1 ค่า แต่ละค่าจะคั่นด้วยเครื่องหมาย คอมม่า(,) 
                รหัสกำหนดรูปแบบ(format code) เป็นรหัสกำหนดรูปแบบของตัวแปร ค่าคงที่ หรือนิพจน์ที่จะแสดงผล เช่น แสดงค่าเลขจำนวนเต็ม หรือจำนวนจริง อักขระ ข้อความ ฯลฯ ส่วนรหัสควบคุม(control code)เป็นตัวกำหนดว่าเมื่อแสดงผลแล้วลักษณะของการแสดงผลครั้งต่อไปจะเปลี่ยนเป็นอย่างไร หรือใช้แสดงผลอักขระหรือสัญลักษณ์พิเศษบางตัว


}


รหัสรูปแบบที่ใช้กับฟังก์ชัน printf() จะเริ่มด้วยเครื่องหมาย % ดังตารางแสดงต่อไปนี้


รหัสรูปแบบ

ความหมายหรือหน้าที่ของรหัสรูปแบบ

%c

ใช้กำหนดตำแหน่งที่จะแสดง อักขระ 1 ตัว (single character)

%d

ใช้กำหนดตำแหน่งแสดงเลขจำนวนเต็ม(integerหรือ int ) 1 จำนวนในรูปเลขฐานสิบ

%e

ใช้แสดงตัวเลขที่เป็นจุดทศนิยม (floating point ,float)ในรูป e เช่น 2.15e+2 คือแทนค่า215

%f , %lf

ใช้กับข้อมูลเป็น float และ double

%g

ใช้กับข้อมูล float

%h

ใช้กับ short integer

%o(ตัวโอ)

ใช้แสดง integer ในรูปเลขฐานแปด

%x

ใช้แสดง integer ในรูปเลขฐานสิบหก

%s

ใช้แสดงข้อความ

%p

ใช้แสดง address ของตัวแปรพอยน์เตอร์

               
รหัสควบคุมที่ใช้กับ printf() (นำหน้าด้วยเครื่องหมาย \ )


รหัสควบคุม

ความหมาย

\a

ส่งเสียงบี๊พ

\b

ลบตัวอักษรที่อยู่ด้านซ้าย1ตำแหน่ง (backspace)

\t

เลื่อนตำแหน่งในการพิมพ์ครั้งต่อไป 1 แท็บ(แนวราบ horizontal)

\n

ขึ้นบรรทัดใหม่

\v

เลื่อนตำแหน่งไป 1 แท็บแนวดิ่ง

\r

เลื่อนไปต้นบรรทัด

\"

แสดงเครื่องหมาย "

\'

แสดงเครื่องหมาย '

\?

แสดงเครื่องหมาย ?

\\

แสดงเครื่องหมาย \



ฟังก์ชัน putchar()
                เป็นฟังก์ชันที่ใช้แสดงอักขระครั้งละ 1 ตัว ทางจอภาพ รูปแบบของฟังก์ชัน คือ
                            Putchar(character);
 ฟังก์ชัน puts()
                ใช้แสดงข้อความ(ไม่ใช่อักขระ)ออกทางจอภาพ รูปแบบของฟังก์ชัน คือ
                                puts(string);

ฟังก์ชันรับข้อมูล (Input function)
ฟังก์ชัน getchar()
                   เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลเป็นตัวอักขระจำนวน 1 ตัวจากแป้นพิมพ์และอักขระนั้นจะปรากฏบนจอภาพ ด้วยและต้องเคาะแป้น enter เพื่อแสดงว่าป้อนข้อมูลแล้ว แต่ในการกำหนดตัวแปรมารับค่าถ้าใช้เป็น int
จะไม่มีการฟ้องการผิดพลาด โดยค่าจำนวนเต็มที่รับจากการเคาะแป้นพิมพ์จะเป็นรหัส ASCII ของ ตัวอักษรนั้น  เช่น A จะเป็น 65 แต่ถ้าตัวแปรที่มารับค่าเป็น char จะมี warning ในเรื่องการเปลี่ยนประเภทตัวแปร แต่ค่าที่จะแสดงออกมาจะตรงตามที่มีการเคาะแป้น และจะมีปัญหาเมื่อมีการใช้ฟังก์ชันนี้มากกว่า 1 ครั้ง

ฟังก์ชัน getch()
                ใช้รับตัวอักขระ 1 ตัวจากแป้นพิมพ์ แต่ขณะรับไม่แสดงทางจอภาพและไม่ต้องเคาะแป้น enter
แล้ว แต่ในการกำหนดตัวแปรมารับค่าถ้าใช้เป็น int จะไม่มีการฟ้องการผิดพลาด โดยค่าจำนวนเต็มที่ตัวแปรได้รับมาเป็นค่ารหัส ASCII ของตัวอักขระ ที่เคาะแป้นพิมพ์ เช่น C เป็น 67 แต่ถ้าตัวแปรที่มารับค่าเป็น char จะมี warning ในเรื่องการเปลี่ยนประเภทตัวแปร แต่ค่าที่ได้จะแสดงออกมาได้ถูกต้อง

ฟังก์ชัน getche()
                รับตัวอักขระจากแป้นพิมพ์ 1 ตัว โดยแสดงออกทางจอภาพด้วยและไม่ต้องเคาะแป้น enter ลักษณะการทำงานเป็นไปในลักษณะเดียวกับ getche() ต่างกันที่แสดงออกทางจอภาพหรือไม่เท่านั้น

ฟังก์ชัน gets()
                ใช้รับข้อความจากแป้นพิมพ์  มาเก็บไว้ในชื่อตัวแปรที่กำหนด โดยเคาะแป้น enter แสดงการจบการป้อนข้อมูล มีรูปแบบ คือ   gets(string_var);
                  โดย string_var คือ ชื่อตัวแปรที่ใช้เก็บข้อมูลที่รับมาจากการป้อนทางแป้นพิมพ์ เป็นตัวแปรประเภทข้อความ และสามารถแยกเป็นตัวอักขระได้ ทั้งหมดนี้ให้พิจารณาจากใบงาน


 

ฟังก์ชัน scanf()
                เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลประเภทต่าง ๆ จากแป้นพิมพ์ได้กว้างขวางกว่าฟังก์ชันอื่น ๆ ที่ผ่านมา ข้อมูลที่รับ เช่น จำ นวนเต็ม จำนวนจริง ข้อความ อักขระ รูปแบบของฟังก์ชัน คือ scanf(control string ,variable list);
                control string เป็นรหัสสำหรับรูปแบบของข้อมูลที่จะรับเข้า โดยรหัสรูปแบบนี้เป็นทำนองเดียวกับฟังก์ชัน printf() โดยรหัสนี้ทังหมดจะต้องอยู่ภายในเครื่องหมายพูด รหัสแต่ละตัวจะแทนข้อมูลแต่ละค่า โดยสามารถมีรหัสของข้อมูล หลายค่าได้ในครั้งเดียวกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเครื่องหมายอื่นใดมาคั่น
                variable list คือรายการของชื่อตัวแปรที่จะมารับค่าของข้อมูลที่ป้อนจากแป้นพิมพ์ โดยตัวแปรต้องประเภทเดียวกับข้อมูลที่ตัวแปรนั้นรับ และจำนวนตัวแปรจะต้องมีจำนวนเท่ากับจำนวนรหัสรูปแบบของข้อมูล โดยชื่อตัวแปรนั้นอยู่หลังจากเครื่องหมายคำพูดที่ล้อมรหัสข้อมูลโดยมีการคั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า(,)และหากมีตัวแปรหลายตัวแต่ละตัวจะคั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่าเช่นกัน และหน้าชื่อตัวแปรแต่ละตัวจะต้องนำด้วยเครื่องหมาย & ยกเว้นตัวแปรของข้อมูลประเภทข้อความ(string) เช่น คำสั่ง
                scanf("%d     %f  %s",&i,&f1,word);
เป็นคำสั่งให้รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ 3 ค่า เป็นข้อมูลประเภท จำนวนเต็มแบบเลขฐานสิบ ตามด้วยข้อมูลเลขทศนิยม และข้อมูลประเภทข้อความ โดยมีตัวแปรชื่อ i  , f1 และ word ซึ่งเป็นแปรตัวประเภท จำนวนเต็ม จำนวนทศนิยม และตัวแปรข้อความตามลำดับ มารับค่าของข้อมูลเหล่านั้น รหัสข้อมูลที่ใช้ในฟังก์ชัน scanf() เป็นดังรายการ
               


รหัสรูปแบบ

ความหมายในการใช้

%c

สำหรับข้อมูลประเภทตัวอักขระ ( character)

%d

สำหรับข้อมูลจำนวนเต็มในรูปเลขฐานสิบ

%e

สำหรับข้อมูลประเภททศนิยม( floating point) ที่เขียนในรูปเลขยกกำลัง

%f   %lf

สำหรับจำนวนประเภท  float และ double

%g

ใช้กับข้อมูลประเภท float

%h

สำหรับข้อมูลประเภท short integer

%l

สำหรับข้อมูลประเภท  integer ทั้งเลขฐาน 8   ฐาน 10   และฐาน 16

%o

สำหรับข้อมูลประเภท  integer เลขฐาน 8  เท่านั้น

%u

สำหรับข้อมูลประเภท  unsigned integer   เลขฐาน 10 เท่านั้น

%x

สำหรับข้อมูลประเภท  integer เลขฐาน 16  เท่านั้น

%s

สำหรับข้อมูลประเภทข้อความ (string)

               

.

.

.

.

.

.

.

..

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...